วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ท้ายที่สุด


" How to train your dragon ? "


In the end 


อย่างไรก็ตาม แม้ตัวฮิกคัพจะหมดโอกาสเป็น "ชายที่สมบูรณ์" (ไม่ว่าจะวัดจากทางกายภาพหรือทางสัญลักษณ์) ภาพยนตร์ก็ยังใจดีพอจะนำเสนอฉากจบบริบูรณ์อย่างมีความสุข สิ่งที่ฮิกคัพใฝ่ฝันมาตลอดกลายเป็นจริง นั่นคือการได้รับการยอมรับจากคนอื่นๆ ในสังคมชาวไวกิ้ง รวมทั้งสโตอิกค์ ก๊อบเบอร์ และแอสทริด ไม่ใช่การยอมรับในฐานะไวกิ้งที่ประพฤติตัวดีเด่นตามขนบหรือผู้ชายที่ดีพร้อม แต่ในฐานะผู้ที่เป็นแบบอย่างในการเปิดรับความแตกต่าง และเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น




ความไม่สมบูรณ์ และ สิ่งทดแทน


" How to train your dragon ? "


ความไม่สมบูรณ์ และ สิ่งทดแทน  


"ความไม่สมบูรณ์" และ "สิ่งทดแทน" ดูจะเป็นประเด็นที่ภาพยนตร์ตอกย้ำผ่านทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวเอกทั้งสองเผ่าพันธุ์ ฮิกคัพและเจ้ามังกรต่างก็เป็น "one of a kind" ที่แปลกแยกแตกต่างจากเพื่อนร่วมสังคม ฮิกคัพเป็นไวกิ้งที่ไม่มีคุณสมบัติความเป็นไวกิ้ง ส่วนเจ้ามังกรเป็นพันธุ์ราตรีพิโรธที่หายาก (ตลอดทั้งเรื่องจะเห็นได้ว่ามันเป็นมังกรราตรีพิโรธเพียงตัวเดียว) ความต้องการมีเพื่อนจึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เชื่อมโยงทั้งคู่เข้าด้วยกัน ต่อมาเมื่อเริ่มคุ้นเคยกัน ฮิกคัพในทีแรกเห็นว่าเจ้ามังกรไม่มีฟัน (ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเพราะมันสามารถหดฟันซ่อนในช่องปากได้) จึงตั้งชื่อให้ว่า"เคี้ยวกุด" (Toothless)


        รูปลักษณ์ของฟันและเขี้ยวที่แหลมยาวเรียวทำให้มันจัดได้ว่าเป็น Phallic symbolอย่างหนึ่ง ชื่อที่ฮิกคัพตั้ง ซึ่งมีนัยยะว่าไม่มี Phallic symbol อาจเป็นความต้องการในระดับจิตไร้สำนึก (The unconscious) ของเขาที่จะหาจุดร่วมระหว่างตัวเขาเอง (ซึ่งไม่มี Phallic symbol เช่นกัน) กับเจ้ามังกร นอกจากนี้ ครีบหางข้างซ้ายของเจ้าหลอยังขาดหายไป (อาจเป็นผลจากการตกลงจากที่สูงเพราะโดนจับด้วยกระสุนเชือกขณะบิน) ทำให้มันไม่สามารถบินขึ้นได้ ฮิกคัพที่รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบจึงใช้ทักษะงานช่างและ aerodynamics ที่มีอยู่สร้าง "ครีบหางเทียม" มาสวมลงบนหางของมัน ทำให้มันสามารถบินได้อีกครั้ง ในแง่นี้ ทั้งฮิกคัพและเจ้าหลอต่างก็เติมเต็มส่วนที่ขาดหายให้แก่กันและกัน




เหตุผลของเรื่อง ( Reason )


" How to train your dragon ? "


Reason ++


       เหตุผลสำคัญที่พวกไวกิ้งในเรื่องใช้รองรับความจำเป็นในการฆ่าฟันกับมังกรคือ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหารโดนมังกรขโมย ทั้งนี้หากอาศัยการตีความตามแนวทางจิตวิเคราะห์ก็จะได้เหตุผลอีกข้อหนึ่ง เหล่านักรบชาติไวกิ้งต่างก็มีความเป็นชายที่มากจนแทบจะล้น ทั้งลักษณะนิสัยแบบผู้ช้ายผู้ชาย แถมยังมีอาวุธประจำตัวที่เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นชาย 



      ส่วนพวกมังกร แม้ว่าจะมีทั้งที่เป็นตัวผู้และตัวเมีย แต่คุณลักษณะโดยธรรมชาติของมังกร ที่มีลำคอยาวเหมือนงู และมีอำนาจการทำลายล้างด้วยการพ่นไฟ ทำให้พวกมันจัดเป็น Phallic symbol เช่นเดียวกับอาวุธอย่างดาบหรือขวาน ผู้ชาย "ปกติ" สองคนไม่อาจอยู่กินร่วมกันได้ฉันใด Phallic symbol สองอย่างก็ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ฉันนั้น การปะทะกันระหว่างมังกรกับอาวุธของไวกิ้งจึงเป็นการต่อสู้เพื่อกำจัด "ความเป็นชาย" ที่ล้นเกิน เพื่อให้เหลือเพียง Phallic symbol ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (อาวุธหรือมังกร ) 





ความแปลกแยกของฮิคคัพ


" How to train your dragon ? "


ความแปลกแยกที่มีนัยยะทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง


แน่นอนว่าตามเพศสรีระ (Sex) ฮิกคัพเป็น "เพศชาย" (Male) โดยไม่ต้องสงสัย แต่เมื่อพิจารณาตามเพศสถานะ (Gender) แล้ว เขาไม่สามารถเป็น "ผู้ชาย" (Man) ที่สมบูรณ์ตามแบบสังคมไวกิ้งได้ คุณสมบัติของ "ไวกิ้งที่ดี" ที่ฮิกคัพขาดไป อันได้แก่ ความห้าวหาญ ดุดัน บ้าบิ่น ไม่กลัวตาย ฯลฯ ล้วนแต่เป็นคุณลักษณะที่ผูกโยงเข้ากับความเป็น "ชาย" มาแต่โบราณกาล 



     นอกจากนั้น หากอาวุธของนักรบผู้กล้า ไม่ว่าจะเป็นดาบ กระบอง ปืน หรือขวาน (สำหรับไวกิ้ง) สามารถเปรียบเป็น "Phallic symbol" (สัญลักษณ์แทน "Phallus" หรือองคชาติ) ที่แสดงถึง "อำนาจแห่งความเป็นชาย" ของผู้ถือ ฮิกคัพที่ไร้เรี่ยวแรงเกินกว่าจะจับขวานได้ก็เป็นผู้ชาย "บ่มิไก๊" ที่ไร้สมรรถภาพในการปลุกนกเขาให้ขัน สรุปแล้วไม่ว่าจะมองในด้านไหน ฮิกคัพก็เป็นเพศชายที่มีความเป็นชายน้อยเสียยิ่งกว่าสาวในดวงใจของเขาอย่างแอสทริด (ให้เสียงโดย America Ferrera) เสียอีก



คนพากย์ ( Sound )


" How to train your dragon ? "


Sound 



Hiccup ฮิคคัพ (พากย์เสียงโดย เจย์ บารูเชล พากย์ไทยโดย วิน ธาวิน เยาวพลกุล)


Astrid แอสทริด (พากย์เสียงโดย อเมริกา เฟอร์เรรา พากย์ไทยโดย เชียร์ ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์)


Stoick สโต๊ยค์ (พากย์เสียงโดย เจอราร์ด บัตเลอร์ พากย์ไทยโดย หนุ่ม คงกะพัน แสงสุริยะ)


Gobber ก๊อบเบอร์ (พากย์เสียงโดย เคร็ก เฟอร์กูสัน)


Snotlout สนอทเลาท์ (พากย์เสียงโดย โจนาห์ ฮิลล์)

Fishlegs พิชเลก (พากย์เสียงโดย คริสโตเฟอร์ มินท์-พลาส)
Tuffnut & Ruffnut ทัฟนัทและรัฟนัท (พากย์เสียงโดย ที.เจ. มิลเลอร์ และ คริสติน วิก )

เพลงประกอบ ( Song )


" How to train your dragon ? "



เพลง

1."This Is Berk"  4:10



2."Dragon Battle"  1:55



3."The Downed Dragon"  4:16



4."Dragon Training"  3:11


5."Wounded"  1:25



6."The Dragon Book"  2:22



7."Focus, Hiccup!"  2:05



8."Forbidden Friendship"  4:11



9."New Tail"  2:48



10."See You Tomorrow"  3:56



11."Test Drive"  2:36



12."Not So Fireproof"  1:12



13."This Time for Sure"  0:44



14."Astrid Goes for a Spin"  0:43



15."Romantic Flight"  1:56



16."Dragon's Den"  2:29



17."The Cove"  1:11



18."The Kill Ring"  4:29



19."Ready the Ships"  5:14



20."Battling the Green Death"  6:18



21."Counter Attack"  3:05



22."Where's Hiccup?"  2:44



23."Coming Back Around"  2:51



24."Sticks & Stones" (Song by Jónsi)4:06



25."The Vikings Have Their Tea"  2:03



อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/อภินิหารไวกิ้ง_พิชิตมังกร

ประวัติ ( History )


" How to train your dragon ? "


ประวัติ ( History )


    
       How to Train Your Dragon  (2010) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติในเครือ DreamWorks เนื้อเรื่องดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเยาวชนที่มีชื่อเดียวกัน (2003) โดย เครสสิดา โคเวลล์ (Cressida Cowell) เช่นเดียวกับภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่สร้างจากหนังสือ How to Train Your Dragon  ฉบับภาพยนตร์ได้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดอย่างมโหฬารจากในฉบับวรรณกรรม ทั้งตัวละคร เนื้อเรื่อง และโทนเรื่อง วรรณกรรมต้นฉบับออกแนวตลกเบาสมอง เกือบๆ จะไร้สาระ ในขณะที่ภาพยนตร์กลายเป็นแฟนตาซีเนื้อหาจริงจัง ใครที่สนใจหา How to Train Your Dragon  ฉบับหนังสือมาอ่านหลังจากได้ชมภาพยนตร์จึงควรได้รับคำเตือนเช่นเดียวกับทุกคนที่อ่านหนังสือโดยเริ่มจากหนัง นั่นคือ "พึงระลึกไว้ว่ามันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน"


อ้างอิง : http://povolam.exteen.com/20100330/how-to-train-your-dragon